ARTICLE 19 มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการปราบปรามขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทย รัฐบาลได้ละเมิด ทำร้าย และขัดขวางผู้ประท้วงในแทบทุกการประท้วง รัฐบาลใช้ประโยชน์จากการแพร่ระบาดของโควิด-19เพื่อออกมาตรการฉุกเฉินปราบปรามซึ่งถูกใช้เพื่อยับยั้งผู้เห็นต่าง และมาตรการเหล่านี้ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเท่าเทียมกันกับผู้ชุมนุมทุกคน
การประท้วงมีส่วนสำคัญในชีวิตทางสารธารณะ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของทุกสังคม การ ประท้วงสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงบวก, ปรับปรุงการคุ้มครองสิทธิ มนุษยชน, ปกป้องพื้นที่ของพลเมือง, พัฒนาพลเมืองที่มีส่วนร่วมและรอบรู้ อีกทั้งช่วยเสริมสร้างประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วม การประท้วงช่วยให้ผู้คนสามารถแสดงความคับข้องใจ แบ่งปันความคิดเห็น เปิดโปงข้อ บกพร่องด้านธรรมาภิบาล และเรียกร้องความรับผิดชอบและการเยียวยาจากผู้มีอำนาจ นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อประโยชน์สาธารณะไม่ได้รับการพูดถึงมากนักหรือถูกผลักให้อยู่ชายขอบ แต่รัฐบาลกลับถือว่าการ ประท้วงเป็นความไม่สะดวกที่จะต้องควบคุมหรือเป็นภัยคุกคามที่จะต้องจัดการ
David Diaz-Jogeix ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโครงการ ARTICLE 19 กล่าวว่า “การตีตราผู้ประท้วงเพื่อ ประชาธิปไตยเป็นการตอกย้ำว่ารัฐบาลไม่สามารถรับคำวิจารณ์และความเห็นต่าง” “ประชาชนต้องได้รับการ ประกันสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ โดยปราศจากการคุกคาม การฟ้องร้องทางกฎหมาย หรือการใช้กำลังโดย ปราศจากการเลือกปฏิบัติ”
รายงานฉบับใหม่ของ ARTICLE 19 “ประเทศไทย: การปฏิเสธความต้องการประชาธิปไตย” เป็นหนึ่งในชุดรายงานการวิจัยจากการรณรงค์ในระดับสากล #FreeToProtest ของเรา ซึ่งพยายามปกป้องและพัฒนาสิทธิของประชาชนในการประท้วง ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ ARTICLE 19 ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในการประท้วง
รายงานฉบับนี้ตรวจสอบว่าตั้งแต่ต้นปี 2563 การประท้วงเพื่อประชาธิปไตยที่นำโดยเยาวชนได้เกิดขึ้นทั่วประเทศไทยอย่างไร รวมถึงการควบคุมและการปราบปรามในระดับต่างๆ ของรัฐไทย ซึ่งรวมถึงการเลือกปฏิบัติข้อเรียกร้องของผู้ประท้วงมีทั้งการปฏิรูปประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ การยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ รายงานนี้ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกตการประท้วงและการรวบรวมข้อมูลจากและรายงานอื่นๆ โดยเน้นที่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ถึงธันวาคม 2021
“สถาบันหลักจะไม่สามารถปกป้องสถานะที่เป็นอยู่ได้โดยการจำกัดพื้นที่พลเมือง การทำให้เสียงผู้คัดค้านเงียบลงจะไม่ทำลายสิ่งที่พวกเขายืนหยัด แต่จะทำให้เกิดแรงกดดันที่มากขึ้น” เดวิดกล่าว “ผู้มีอำนาจที่อยู่เบื้องหลังการใช้กฎหมายปราบปรามผู้ประท้วงยังคงหลบเลี่ยงความรับผิดชอบโดยวางตนไว้เหนือคำวิจารณ์”